วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

(ข่าว)ค้นบ้านราษฎร์อุทิศ 34 พบสารเคมี 7 ถัง ชาวบ้านอ้างเคยเห็น "วรรณา"

(3 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.3 ได้ทำการปิดล้อมและตรวจค้นบ้านเช่าต้องสงสัย ซึ่งตั้งอยู่ในซอยราษฎร์อุทิศ 34 เขตมีนบุรี หลังได้รับแจ้งว่า อาจจะเป็นที่กบดาน หรือ เก็บวัตถุพยาน ในคดีวางระเบิดที่ราชประสงค์ และสาทร
จากการเข้าตรวจค้น พบถังบรรจุสารเคมีบางอย่าง ซึ่งเป็นของเหลว จำนวน 7 ถัง อยู่ภายในห้องเช่าดังกล่าว แต่ไม่เจอผู้อยู่อาศัย จึงทำการปิดล้อมพื้นที่เอาไว้ และประสานเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน เข้ามาตรวจสอบว่า สารดังกล่าวเป็นสารเคมีที่ใช้ประกอบระเบิดหรือไม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้าตรวจสอบ
มีรายงานว่า มีผู้พบเห็น"วรรณา สวนสัน" ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีระเบิดราชประสงค์ เข้าออกบ้านหลังนี้ด้วย
ค้นบ้านราษฎร์อุทิศ 34 พบสารเคมี 7 ถัง ชาวบ้านอ้างเคยเห็น "วรรณา"

(ข่าว) สารเคมีในโรงงาน Samsung รั่วไหล คนงานวัย 52 ปี ดับอนาถ!

สลด!!! สารเคมีในโรงงาน Samsung รั่วไหล คนงานวัย 52 ปี ดับอนาถ!
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้น! เมื่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนของ Samsung ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เกิดเหตุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รั่วไหลออกมา ทำให้คนงานที่อยู่บริเวณนั้น บาดเจ็บ และ 1 ในคนงานวัย 52 ปีเสียชีวิต!!!
สำนักข่าวเกาหลีใต้ yonhanews รายงานว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจาก ระบบดับเพลิงของโรงงานทำงานผิดพลาด เมื่ออยู่ๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทั้งๆที่ไม่ได้เกิดเหตุไฟไหม้แต่อย่างใด ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในพื้นที่ เมื่อเหตุการณ์สงบลง พบผู้เสียชีวิตเป็นคนงานชายวัย 52ปี 
เว็บไซต์ Engaget ได้โพสถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ2-3ปีก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์สลดครั้งนี้ว่า เมื่อเดือน มกราคม ปี2013 นั้น เคยเกิดเหตุการณ์สารเคมี Hydroflouric acid รั่วไหลออกมามากกว่า 10 ลิตร
ในโรงงานผลิตชิปของ Samsung ทำให้คนงานเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 4 ราย จากเหตุการณ์นี้บริษัท Samsung ถูกปรับเป็นเงินกว่า 1000ดอลลาร์ เพื่อเป็นการตักเตือนไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก
แต่หลังจากนั้น 4 เดือน ก็เกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำขึ้นอีกในลักษณะเดียวกัน ทำให้คนงานบาดเจ็บ 3 ราย 
ล่าสุดทาง Samsung ได้แสดงความเสียใจและแถลงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของตนเอง และกล่าวว่าจะเพิ่มมาตรการความปลอดภัย และป้องกันอุบัติเหตุให้เข้มงวดยิ่งขึ้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3 เหตุการณ์
จะเห็นว่าทั้งหมดนั้นเกิดจากความสะเพร่า และไม่เอาใจใส่ดูแลของ ผู้ดูแล เพราะเหตุการณ์มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ทีมงาน Sanook! Hitech ขอแสดงความเสียใจกับคนงานที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ทั้งหมดด้วยนะครับ
และหวังว่าทางโรงงานจะรักษาความปลอดภัยของ คนงาน ให้มากขึ้นกว่านี้สารเคมีในโรงงาน Samsung รั่วไหล คนงานวัย 52 ปี ดับ!

(ข่าว)ข้อควรรู้ก่อนทาลิปสติก อันตรายแฝงจากสารเคมีที่พร้อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ลิปสติกที่จะขอกล่าวถึงสำหรับสาวๆ ในที่นี้คือลิปสติกที่ถูกเติมแต่งด้วยสีสันอันฉูดฉาด เน้นเติมเสน่ห์เรียวปากให้ดูดี ในปัจจุบันที่เครื่องสำอางชนิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในตัวช่วยเสริมความมั่นใจให้สาวๆ ได้รู้สึกถึงความโดดเด่นของใบหน้า ทว่าในความงามนี้กลับกลายเป็นดาบสองคม เพราะบางยี่ห้อปนเปื้อนอยู่ด้วยสารเคมีอันตรายที่เรามองไม่เห็น แถมสารเคมีที่สัมผัสโดนริมฝีปากอันบอบบาง  หรือบางครั้งเผลอกลืนเข้าไปสะสมในร่างกายแบบไม่รู้ตัว อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวตามมาได้
ยิ่งสีสด ติดทนนาน ยิ่งเสี่ยงอันตราย!
ในยุคนี้เราจะเห็นว่ามีลิปสติกสีสันสดใสผลิตออกมามากขึ้น ยิ่งสีสดแค่ไหน ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมบางยี่ห้อยังเคลมอีกด้วยว่าเป็นลิปสติกที่สามารถติดทนอยู่กับริมฝีปากได้นานตลอดวันไม่มีหลุดในการทาเพียงแค่ครั้งเดียว หารู้ไม่ว่ามันเต็มไปด้วยสารเคมีที่ไม่ควรสัมผัสถูกผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น สารกันบูดที่มักผสมอยู่ในเครื่องสำอางทั่วๆ ไป, พาราเบน, เมธอะคริเลท, สารตะกั่วปนเปื้อน และไตรโครซาน ฯลฯ
สารเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน เข้าไปรบกวนการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความน่าวิตกว่าสารเคมีมากมายจากลิปสติกที่เข้าไปสะสมในร่างกาย จะเป็นตัวการทำให้เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะตามมา ส่งผลให้การรักษาอาการยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้น
เมธอะคริเลท ส่วนผสมต้องห้ามในลิปสติก
เมธอะคริเลทเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก แต่มันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของลิปสติกที่มีสีฉูดฉาด ทำให้สีหลุดลอกได้ยาก สารชนิดนี้เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ในระยะแรกจะแสดงอาการมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการทาของสาวๆ แต่ละคน ทั้งนี้อาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนากลายเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรารู้จักกันว่าโรค SLE ได้อีกด้วย เป็นตัวการส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากเกินปกติ เกิดภาวะอักเสบตามผิวหนัง หากไม่รีบทำการรักษาจะยิ่งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอวัยวะได้
ทางที่ดีสาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการทาลิปสติกสีเข้ม และหันมาทาลิปมันที่ช่วยบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื่นเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงจากสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนมาพร้อมกับเม็ดสี หรืออาจจะเลือกเป็นลิปสติกสีอ่อนที่มีคุณภาพมาใช้ทดแทน เพียงเท่านี้ก็ทำให้เรียวปากของสาวๆ ดูสวยอวบอิ่มได้ไม่แพ้กันอย่างแน่นอนค่ะ

(ข่าว)วิธีกำจัดแมลงหวี่แบบง่าย ๆ ไม่พึ่งสารเคมี

 บ้านเพื่อนๆ คนใหนเจอปัญหา มีแมลงแสนรำคาญรบกวน ตอมหน้าตอมตา กวนหัวใจ อย่างเจ้าแมลงหวี่บ้างหรือเปล่า จะมาในหน้าร้อนเป็นส่วนใหญ่ แต่จะสร้างความรำคาญมากกว่าแมลงวัน ตามตื้อ ตามจิกไปมาทุกที่ เหมือนเจ้ากรรมนายเวรถ้าเพื่อนเจอปัญหาแมลงหวี่รบกวนเหมือนที่กล่าวมา วันนี้เรานำวิธีไล่แมลงหวี่มาแนะนำ เป็นวิธีง่ายๆ เกี่ยวกับการกำจัดแมลงหวี่ หรือไล่แมลงหวี่โดยไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ป้องกันสารตกค้าง
  • กำจัดแมลงหวี่ด้วยเชือกงานนี้เราใช้เชือกสีขาวๆ เท่านั้น นำมาผูกกับราว หรือ ตามยาวลงมา แมลงหวี่จะบินไปเกาะ ไม่มาตัวเดียวด้วย ชวนกันมา จากนั้นก็นำน้ำมันเครื่อง น้ำมันก๊าซ หรือ น้ำมัน พืช น้ำมันหมู มาใส่ภาชนะ แล้วมาเคลือบที่เชือกเพื่อจับแมลงหวี่ มันจะติดบินไปใหนไม่ได้แล้ว
  • ควันกาบมะพร้าว กับ เครือกระทกรกแมลงหวี่ไม่ชอบกลิ่นกาบมะพร้าว กับเครือกระทกรกที่ตากแห้งแล้วเอามามัดจุดไฟให้เกิดควัน จะหนีไปไม่กลับมาอีก
  • กำจัดแมลงหวี่โดยใช้ใบหางนกยูงไล่แมลงหวี่แบบธรรมชาติ เพียงนำก้านของใบหางนกยูงมาใส่ไว้บนแจกันบนโต๊ะทำงาน หรือตรงที่มารบกวน แมลงหวี่นั้นไม่ชอบกลิ่นของใบหางนกยูง
  • กำจัดแมลงหวี่ด้วยดอกดาวเรือง ให้เด็ดดอกดาวเรืองมาแช่ในน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นก็เอาน้ำที่ได้มารดบริเวณที่มีแมลงหวี่ รับรองได้ว่าเพียงไม่กี่วันแมลงหวี่จะหนีหายไปจากที่นั่น พร้อมกำจัดทั้งไข่ของแมลงหวี่
  • วิธีกำจัดแมลงหวี่แบบง่าย ๆ ไม่พึ่งสารเคมี

(ข่าว)โรคผิวหนัง จากสารเคมี

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้
 อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี
อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช
วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อนายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรคผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นคัน และมักเป็นๆ หายๆ เกิดปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการป้องกันโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี ได้แก่ หยุดสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือภูมิแพ้โดยเลือกใช้สารที่อันตรายน้อยกว่าหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆให้น้อยที่สุด หมั่นทำความสะอาดพื้นบริเวณที่ทำงานเป็นประจำ และใช้ครีมทามือเพื่อป้องกันสารระคายเคือง ช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้น หรือใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาผิวช่วยลดความแห้งตึงของผิวได้ หากมีบาดแผลต้องรีบทำความสะอาด  และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด
ถ้าหากมีการระคายเคืองหรือผดผื่นเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากกรณีที่ผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผล หากติดเชื้อจะทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ลุกลามมากยิ่งขึ้น

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

(ข่าว)สิบล้อสารเคมีลงสะพาน-แหกโค้ง ล้มคว่ำทับป้อมตำรวจ

(23 มี.ค.) เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ผ่านมา เกิดเหตุรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสารเคมีเสียหลัก พลิกคว่ำล้มทับป้อมตำรวจ บริเวณแยกพระราม 3 ช่วงทางลงจากสะพานภูมิพล เป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ การจราจรได้รับผลกระทบเป็นทางยาว
ตามรายงานระบุว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสารฟอสฟอริก เกิดเสียหลักพลิกคว่ำ ช่วงระหว่างที่ลงจากสะพานภูมิพล เพื่อจะเลี้ยวเข้าถนนพระราม 3 ตู้คอนเทนเนอร์ได้พลิกคว่ำล้มใส่ป้อมตำรวจจราจร สน.บางโพงพาง ส่วนหัวรถก็พลิกตะแคงข้างเช่นเดียวกัน ส่งผลทำให้คนขับรถบรรทุกคันดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ
ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่พบว่าสารเคมีที่บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ เริ่มรั่วไหลออกมา ส่งกลิ่นฉุนแสบจมูก จึงได้ใช้ทรายปิดกันไม่ให้สารเคมีไหลลงสู่พื้นถนนและท่อระบายน้ำบริเวณใกล้เคียง ก่อนจะประสานงานผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีเข้ามาเก็บกู้ พร้อมกับจะใช้รถยกขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายรถบรรทุกที่เกิดเหตุออกบริเวณดังกล่าว คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จ ก่อนชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเย็นวันนี้
สิบล้อสารเคมีลงสะพาน-แหกโค้ง ล้มคว่ำทับป้อมตำรวจ

(ข่าว)สารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร

นิดสารเคมี (วัตถุเจือปน) ที่ห้ามใช้ ในอาหาร
1.สารฟอกขาวอันตรายต่อร่างกาย
- จะเกิดอาการปวดท้อง เวียนศรีษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตต่ำ
- ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด จะเกิดอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิต
ชนิดอาหารที่พบ - น้ำแช่ผักผลไม้ เช่น ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว หยวกกล้วย กล้วยดิบ ฯลฯ
- ผัก ผลไม้แปรรูป เช่น ทุเรียนกวน หน่อไม้ดอง ขิงดอง สับปะรดกวน กะปิ ฯลฯ
กฎหมายกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 62/24 ,84/27 สามารถเจือปนได้ในอาหารบางชนิด แต่สารฟอกขาวเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2.สารบอแรกซ์ อันตรายต่อร่างกาย - อาการเฉียบพลัน อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังร้อนแดง ชัก มีไข้สูง ตัวเหลือง ความดันลด หมดสติ ตายในที่สุด
- อาการเรื้อรัง ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ผมร่วง ชัก และโลหิตจาง
- ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง
- เป็นพิษต่อไต และสะสมในสมอง
ชนิดอาหารที่พบ
- เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ( หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ฯลฯ)
- ผลไม้ดอง
- ทับทิมกรอบ ลอดช่อง
กฎหมายกำหนด - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) กำหนดให้สารบอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กำหนด บอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความ
สารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร

(ข่าว)นักวิชาการเเนะ"บริษัทพีทีที โกบอล เคมิคอลฯ"เผยข้อมูลสารขจัดคราบน้ำมัน

รศ.พลังพล คงเสรี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีเเละชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยรายงานผลกระทบจากสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่ใช้สลายคราบน้ำมันจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2553 ที่ผลการวิจัยออกมาว่าสารเคมีที่ใช้ มีฤทธิ์เป็นสารก่อมะเร็ง เเละส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นบทเรียนสำคัญที่นานาประเทศ เรียกร้องให้ผู้ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ต้องเปิดเผยรายละเอียดสารเคมีที่จะใช้เเก่สาธารณะชน เเละศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน ก่อนพ่นลงทะเล
เเม้เหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทยครั้งนี้ จะไม่รุนเเรงเท่ากับอ่าวเม็กซิโกเมื่อ 3 ปีที่เเล้ว เเต่ก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศในระยะยาว หากผู้ที่ก่อมลพิษเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จะนำมาใช้
การศึกษาวิจัยจากเหตุน้ำมั้นรั่วที่อ่าวเม็กซิโกยังค้นพบว่า มีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลบางชนิด มีคุณสมบัติสามารถกำจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลได้ นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นว่าเหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทย น่าจะใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในทะเลอ่าวไทย มาใช้เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายคราบน้ำมันได้
ส่วนการสลายคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเเปลก เพราะเป็นวิธีปฏิบัติที่หลายประเทศทั่วโลกนำมาใช้ เเต่ก็ควรใช้ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล
                           à¸™à¸±à¸à¸§à¸´à¸Šà¸²à¸à¸²à¸£à¹€à¹€à¸™à¸°"บริษัทพีทีที โกบอล เคมิคอลฯ"เผยข้อมูลสารขจัดคราบน้ำมัน

(ข่าว)พบถังบรรจุสารเคมีต้องสงสัยว่าเป็น สารฝนเหลือง


     19 มีนาคม 2542 พบถังบรรจุสารเคมี สภาพผุกร่อนขนาด 200 ลิตร ซึ่งไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ 1 ถัง และถังบรรจุสารเคมีจำนวน 5 ถัง ขนาดบรรจุ 15 ลิตร มีข้อความและหมายเลขกำกับว่า "Delaware Barrel PAT NO 2842282, Tri-sure, American lange, NY" ต้องสงสัยว่าเป็น "สารฝนเหลือง" ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุกฝ่ายเรียกร้องให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นสารเคมีตัวเดียวกับ "สารฝนเหลือง" (Agent Orange) ซึ่งสหรัฐอเมริกานำมาใช้ในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี 2504-2518 เพราะเป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดรุนแรงที่ทหารอเมริกันใช้ฉีดพ่นเหนือผืนป่าอันกว้างใหญ่ของเวียดนามใต้ เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองร้อยละ 60 หรือ 42 ล้านลิตร จากจำนวนสารเคมี 72 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น
พบถังบรรจุสารเคมีต้องสงสัยว่าเป็น สารฝนเหลือง ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

(ข่าว)จีนคลังสารเคมีระเบิดรุนแรงที่เทียนจิน

คืนวานนี้ (12 ส.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 23.10 น. ตามเวลาจีน เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงในพื้นที่ย่านผิงไห่ เทศบาลนครเทียนจิน ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ทวิตเตอร์ @XHNews เผยภาพขณะเกิดเหตุซึ่งเห็นได้ว่าการระเบิดครั้งนี้รุนแรงมาก เปลวเพลิงและกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าสูงหลายเมตร
ทวิตเตอร์ @MSimonTV ของ นายแมตต์ ไซมอน โปรดิวเซอร์รายการข่าว CCTV อเมริกา รายงานว่า เหตุระเบิดนี้เกิดขึ้นในท่าเรือตงเจียง เก็บสินค้าจำพวกสารเคมี สารไวไฟ และสารระเบิดร้ายแรงของบริษัท รุ่ยไห่ อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ แรงระเบิดระดับรุนแรงสองครั้ง วัดขนาดได้ถึง 2.3 แมกนิจูด หรือ เท่ากับระเบิดทีเอ็นที 3 ตัน และ 2.9 แมกนิจูด หรือเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 21 ตัน ส่วนตึกและอาคารในรัศมีราว 10 กิโลเมตรจากจุดระเบิดนั้นเสียหายเกือบทั้งหมด
ล่าสุด 13.00 น. ทวิตเตอร์ @XHNews รายงานว่า พบผู้เสียชีวิตแล้ว 44 ราย โดยในจำนวนนี้มี 12 คนเป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
จีนคลังสารเคมีระเบิดรุนแรงที่เทียนจิน ยอดเสียชีวิต 44 ราย

(ข่าว)การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล

การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์
ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1
กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ
                            โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

แรงลอนดอน

แรงลอนดอน เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสารทั่วไป และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร จัดเป็นแรงที่มีความแข็งแรงน้อยที่สุดในชนิดของแรงแวนเดอวาลล์ จึงต้องการพลังงานในการสลายพันธะหรือแรงระหว่างโมเลกุลน้อยมาก โมเลกุลที่ยึดจับกันด้วยแรงชนิดนี้มีจุดเดือด และจุดหลอม เหลวต่ำมาก 
                  โดยปกติโมเลกุลที่ไม่มีขั้วจะประพฤติตัวเป็นกลางในบางครั้งอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรวมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของอะตอมหรือโมเลกุลทำให้เกิดสภาพขั้วชั่วคราวขึ้น โดยตำแหน่งที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรวมกันจะเกิดสภาพที่เป็นประจุลบ (d-) และตำแหน่งที่ไม่มีอิเล็กตรอนจะเกิดสภาพประจุที่เป็นบวก (d+)
                  โมเลกุลที่มีสภาพขั้วแบบชั่วคราวสามารถเหนี่ยวนำทำให้โมเลกุลในสภาวะปกติมีสภาพขั้วโดยที่ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนหนาแน่นมีประจุเป็นลบจะไปผลักอิเล็กตรอนของอีกโมเลกุลให้ไปอยู่ด้านตรงข้ามทำให้เกิดอีกโมเลกุลมีสภาวะขั้วชั่วคราวอีกโมเลกุล ทำให้โมเลกุลทั้งสองมีประจุบวกและลบเรียกว่า Polarizability และเกิดแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกและลบ ซึ่งแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นดังลักษณะนี้เราเรียกว่า แรงลอนดอน (London dispersion force)
                  แรงที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรวมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของโมเลกุลทำให้เกิดสภาพขั้วชั่วคราวขึ้น และไม่สามารถเกิดขึ้นแบบถาวรจึงมีความแข็งแรงจึงน้อยมาก พบว่าเมื่อโมเลกุลหรืออะตอมมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีความสามารถทำให้เกิดขั้ว (Polarizability) ได้ง่าย เนื่องจากเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรวมที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งดังรูป พบว่าในกรณีโมเลกุลขนาดใหญ่จะมีความแตกต่างระหว่างขั้วมากกว่าจึงทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วที่มากกว่าเช่นกัน ดังตัวอย่าง Cl2 และBr2 พบว่า Br2 มีขนาดใหญ่กว่าจึงมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากกว่าทำให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวมากกว่า Cl2

สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

– โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีพันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว อาจเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้
– โมเลกุลโคเวเลนต์มีพันธะโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว โมเลกุลก็ต้องไม่มีขั้วด้วย
– สภาพขั้วของของโมเลกุลขึ้นอยู่กับผลรวมเวกเตอร์ทางคณิตศาสตร์ของทุกพันธะในโมเลกุล
ถ้าผลรวมเวกเตอร์หักล้างกันหมด (ผลรวมเวกเตอร์เท่ากับศูนย์) แสดงว่าเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว เช่น CO2

ความยาวพันธะ

ความยาวพันธะ หมายถึง ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองที่เกิดพันธะกัน (หน่วยเป็น Angstrom , 10-10 m , A0 )
(ที่มา : www.chem.ufl.edu/~chm2040/Notes/Chapter_11/covalent.html)

    จากหัวข้อการเกิดพันธะโคเวเลนต์ นักเรียนทราบแล้วว่าอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมเข้าใกล้กันเป็นระยะทาง 0.74 อังสตรอม (หรือ 74 พิโคเมตร) ซึ่งเป็นระยะทางที่เหมาะสมในการเกิดพันธะโคเวเลนต์ระหว่างไฮโดรเจน  โดยระยะนี้เรียกว่า "ความยาวพันธะ"  โดยปกติแล้วเราสามารถหาความยาวพันธะของสารได้จากการศึกษาการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray diffraction ; XRD) ผ่านผลึกของสาร  ทั้งนี้ความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกันในโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน จะมีค่าไม่เท่ากัน เช่น

สาร
สูตรโมเลกุล
ความยาวพันธะ O-H (pm)
น้ำ
H2O
95.8
เมทานอล
CH3OH
95.6



    ดังนั้น ความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง จึงหาได้จากค่าเฉลี่ยของความยาวพันธะระหว่างอะตอมคูjเดียวกันในโมเลกุลต่างๆ  เมื่อกล่าวถึงความยาวพันธะ โดยทั่วไปจึงหมายถึง “ความยาวพันธะเฉลี่ย

พลังงานพันธะ

พลังงานพันธะ หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมคู่หนึ่งๆในโมเลกุลในสถานะแก๊ส  พลังงานพันธะสามารถบอกถึงความแข็งแรงของพันธะเคมีได้   โดยพันธะที่แข็งแรงมากจะมีพลังงานพันธะมาก  และพันธะที่แข็งแรงน้อยจะมีพลังงานพันธะน้อย

    พลังงานพันธะเฉลี่ย หมายถึง ค่าพลังงานเฉลี่ยของพลังงานสลายพันธะ ของอะตอมคู่หนึ่งๆ ซึ่งเฉลี่ยจากสารหลายชนิด เช่น การสลายโมเลกุลมีเทน (CH4) ให้กลายเป็นอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจน มีสมการและค่าพลังงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
CH4(g) + 435 kJ  →  CH3(g) + H(g)
CH3(g) + 453 kJ  →  CH2(g) + H(g)
CH2(g) + 425 kJ  →  CH(g)  + H(g)
CH(g)  + 339 kJ  →  C(g) + H(g)
    เราจะเห็นได้ว่าการสลายพันธะระหว่าง C-H ในแต่ละพันธะของโมเลกุลมีเทน (CH4) จะใช้พลังงานไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อนำค่าพลังงานทุกค่ามาเฉลี่ย  ก็จะได้เป็นค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยนั่นเอง  ดังแสดงในตาราง



แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

นปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอม
เพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆหลายอนุภาคเรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า “อะตอม” ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่จะมีสมบัติ แตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 
3. สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยา เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ 
จอห์น ดอลตัน ชาวอังกฤษ เสนอทฤษฎีอะตอมของดอลตัน 
- อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด แบ่งแยกอีกไม่ได้
- อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
- อะตอมต้องเกิดจากสารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันทางเคมี
ทฤษฎีอะตอมของดอลตันใช้อธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลบางประการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของ ดอลตัน เช่น พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้   
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจ ำลองอะตอมของดอลตัน ดอลตัน

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ทอมสัน ( J.J Thomson )ไดท้ า การทดลองโดยใชห้ลอดแกว้สุญญากาศคน้ พบวา่ ภายใน อะตอมจะมีอนุภาคไฟฟ้าลบ (อิเล็กตรอน) อยู่ ต่อมาโกลดส์ ไตน์(Eugen Goldstein ) พบวา่ ภายในอะตอมยงัมีอนุภาคไฟฟ้าบวก(โปรตอน) อยอู่ ีกดว้ย ทอมสันจึงได้เสนอแบบจ าลองของ อะตอมไวว้า่ “อะตอมมีลักษณะเป็ นทรงกลม ประกอบไป ด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวก และอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุ ลบกระจายอยทู่ วั่ ไปอยา่ งสม่า เสมอและในอะตอมที่ เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจา นวนโปรตอนเท่ากบัจา นวน อิเล็กตรอน” ในเวลาต่อมานกัวทิยาศาสตร์ชื่อมิลลิแกน ( Robert A. Millikan ) ได้ท าการทดลองโดย ใชห้ ยดน้า มนัแลว้สามารถหาค่าประจุของอิเล็กตรอน 1 ตวัไดค้่าเท่ากบั 1.6x10–19คูลอมบ์ และ สามารถคา นวณหาค่ามวลของอิเล็กตรอน 1 ตวัไดเ้ท่ากบั 9.11x10–28กรัม อีกด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจ ำลองอะตอมของดอลตัน ดอลตัน

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด 
รัทเทอร์ฟอร์ด ( Ernest Rutherford ) เสนอ แบบจา ลองอะตอมเอาไวว้า่ “ อะตอมประกอบด้วย นิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากอยตู่ รงกลาง และมีประจุ ไฟฟ้าเป็นบวก โดยมีอิเล็กตรอนวงิ่ วนอยรู่ อบๆ ” เพราะเมื่อรัทเทอร์ฟอร์ดได้ท าการทดลองยิงรังสีแอลฟา ซึ่งเป็ นอนุภาคไฟฟ้าบวกเข้าไปกระทบ อะตอมในแผน่ ทองคา บางๆ ผลปรากฏวา่ รังสีส่วนมากจะลอดช่องวา่ งระหวา่ งนิวเคลียสกบัอิเล็กตรอนแลว้ทะลุออกไปเป็น เส้นตรง รังสีส่วนนอ้ยจะพุง่ เขา้ใกล้ นิวเคลียสซ่ึงมีขนาดเล็ก แลว้เกิดแรง ผลกัระหวา่ งประจุบวกของนิวเคลียสกบั ประจุบวกของรังสีแอลฟาแล้วท าให้รังสี แอลฟาเกิดการเบี่ยงเบน และรังสีส่วน นอ้ยที่สุดจะพุง่ เขา้ชนนิวเคลียสตรงๆ แลว้เกิดการสะทอ้นยอ้นกลบัออกมา แต่การพุง่ เขา้ใกล้ กบัการพุง่ ชนตรงๆ จะเกิดไดน้อ้ยเพราะนิวเคลียสมีขนาดเล็กนนั่ เอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลองอะตอมของ รัทเทอฟอด

สารประกอบเชิงซ้อน

    โลหะแทรนซิชันมีโครงสร้างทางอิเล็กตรอนที่แตกต่างไปจากโลหะหมู่ที่ IA และหมู่ IIA คือสามารถรวมกับไอออน หรือหมู่ไอออน โมเลกุลหรือสารบางชนิดที่มีอิเล็กตรอนคู่ว่างอยู่ เกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่เรียกว่า สารประกอบโคออดิเนชัน หรือสารประกอบเชิงซ้อน (Coordination complex, Complex compound) 

          สารประกอบเชิงซ้อนหรือไอออนเชิงซ้อน โดยทั่ว ๆ ไป ประกอบด้วยอะตอมหรือไอออนที่อยู่ตรงกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลหะเรียกว่า นิวเคลียสอะตอม ( Nuclear atom ) มีกลุ่มของไอออนหรือโมเลกุลต่าง ๆ ห้อมล้อมอยู่ ไอออนหรือโมเลกุลที่ห้อมล้อมอยู่นี้เรียกว่า ลิแกนต์  โดยปกติพันธะระหว่างอะตอมกลางกับลิแกนต์เป็นพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ ดังนั้นจึงเรียกสารประกอบเซิงซ้อนเหล่านี้อีกขื่อหนึ่งว่า สารประกอบโคออดิเนชัน เช่น  มีแมงกานีสเป็นอะตอมกลาง มีออกซิเจนล้อมรอบ  มีเหล็กเป็นอะตอมกลางและมีไซยาไนด์ไอออนล้อมรอบ

ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์

ไอโซโทป(Isotope)
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน (หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน ) แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน (หรือมีมวลต่างกัน)
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกัน
อะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C, 13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 )
สัญลักษณ์นิวเคลียร์
จำนวนอิเล็กตรอน
จำนวนโปรตอน
จำนวนนิวตรอน
เลขมวล
126C
136C
146C
6
6
6
6
6
6
6
7
8
12
13
14
ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้
11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H 
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D 
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T 

ไอโซโทน (Isotone)
ไอโซโทน ( Isotone ) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขมวลและเลขอะตอมไม่เท่ากัน
เช่น 188199F เป็นไอโซโทนกัน มีนิวตรอนเท่ากันคือ n = 10
ธาตุ
A
Z
n
18O
19F
18
19
8
9
10
10
จะเห็นได้ว่าเฉพาะ n เท่านั้นที่เท่ากัน แต่ A และ Z ไม่เท่ากัน จึงเป็นไอโซโทน
ไอโซบาร์(Isobar)
ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีมวลอะตอมและจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
เช่น 3015P กับ 3014Si มีเลขมวลเท่ากันคือ 30
ธาตุ
A
Z
n
3015P
3014Si
30
30
15
14
15
16

สัญลักษณ์นิวเคลียร์

สัญลักษณ์นิวเคลียร์
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (Nuclear symbol) เป็นสิ่งที่ใช้เขียนแทนโครงสร้างของอะตอม โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม วิธีการเขียนตามข้อตกลงสากลคือ เขียนเลขอะตอมไว้มุมล่างซ้าย และเลขมวลไว้มุมบนซ้ายของสัญลักษณ์ของธาตุ
เขียนเป็นสูตรทั่ว ๆ ไปดังนี้
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ = AZX
X คือ สัญลักษณ์ของธาตุ
A คือ เลขมวล
Z คือ เลขอะตอม
ถ้าให้ n = จำนวนนิวตรอน
จะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างเลขอะตอม เลขมวล และจำนวนนิวตรอนได้ดังนี้
เลขมวล = เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอน
A = Z + n

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์นิวเคลียร์

ปริมาณสารสัมพันธ์

ปริมาณสารสัมพันธ์

ปริมาณสารสัมพันธ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมวลหรือน้ำหนักของธาตุต่าง ๆ ของสารประกอบในปฏิกิริยาเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์มีประโยชน์ในแง่ของการคาดคะเนปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

ระบบเปิดระบบปิด
ระบบ ( System) หมายถึง สิ่งซึ่งอยู่ในขอบเขตที่ศึกษา
ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบ ซึ่งมวลและพลังงานของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าไม่คงที่ เช่น
ระบบปิด ( Closed System) หมายถึงระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบ ซึ่งมวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลงคงที่ แต่พลังงานของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ เช่น
กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
1. กฎทรงมวล
อองตวน โลรอง ลาวัวซิเอ ได้ตั้งกฎทรงมวลซึ่งสรุปได้ว่า “มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยา” กฎนี้จะใช้ได้กับปฏิกิริยาเคมีในระบบปิด ใช้ไม่ได้กับปฏิกิริยาเคมีนิวเคลียร์ เช่น เทียนไขในภาชนะปิดใบหนึ่ง มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาเท่ากับมวลของเทียนไขกับภาชนะ เมื่อจุดเทียนไขในภาชนะปิดนี้ แล้วทำการชั่งมวลใหม่ มวลจะเท่าเดิม (ระบบปิด)
2. กฎสัดส่วนคงที่
โจเซฟ เพราสต์ ได้ตั้งกฎสัดส่วนคงที่ซึ่งสรุปได้ว่า “ในสารประกอบหนึ่ง ๆ ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนโดยน้ำหนักที่คงที่เสมอ” โดยไม่คำนึงถึงว่าสารประกอบนั้นจะมีกำเนิดหรือเตรียมได้โดยวิธีใด

มวลอะตอม
อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้ มีรัศมีของอะตอมยาวประมาณ 10 -10 เมตร อะตอมที่เบาที่สุดมีมวลประมาณ 1.6 x 10 -24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดมีมวลประมาณ 250 เท่า ซึ่งมีค่าน้อยมาก (เป็นผลคูณของ 10 -24) มวลอะตอมเหล่านี้จะต้องรวมกันต่อไปเป็นมวลโมเลกุล ซึ่งทำให้ยุ่งยากในการคำนวณ จึงนิยมใช้มวลเปรียบเทียบที่เรียกว่า มวลอะตอมหรือน้ำหนักอะตอม
มวลของอะตอมนั้นก็คือ มวลขององค์ประกอบทั้งหมดในอะตอมรวมกัน อันได้แก่ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน ซึ่งมวลของโปรตอน และนิวตรอนนั้นใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่เท่ากัน และสูงกว่าอิเล็กตรอน นับพันเท่า
อนุภาค
มวล ( กรัม)
โปรตอน
1.6726 x 10 -24
นิวตรอน
1.6749 x 10 -24
อิเล็กตรอน
9.1096 x 10 -28
มวลอะตอม คือ มวลเปรียบเทียบที่บอกให้ทราบว่ามวลของธาตุ 1 อะตอมหนักเป็นกี่เท่าของมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม
มวลของธาตุ 1 อะตอม คือ มวลที่แท้จริงของอะตอมนั้นๆ 1 อะตอม
มวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม คือ มวลของธาตุที่ถูกใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งทุกอะตอมต้องมีค่าเท่ากันหมด จึงเรียกว่ามวลมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 1.66 x 10 -24 กรัม หรือ 1 amu (atomic mass unit)
ถ้ามวลอะตอมของ C = 12 จากสูตรการหามวลอะตอมของธาตุ มวลของธาตุ C 1 อะตอม = 12 x 1.66 x 10 -24 กรัม ถ้าใช้มวลของธาตุ C 1 อะตอมเป็นค่ามาตรฐานจะได้สูตร
นอกจากนี้มวลอะตอมยังคำนวณได้จากมวลเฉลี่ยของบรรดาไอโซโทปที่มีในธรรมชาติ

การจัดเรียงอิเล็กตรอน(ระดับพลังงานย่อย)

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
         อะตอมของธาตุจะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ในระดับพลังงานต่างๆ และแต่ละระดับพลังงานยังมีระดับพลังงานย่อย เรียกว่า Energy Sublevel และภายในระดับพลังงานย่อยยังประกอบด้วย ออร์บิทัล (Orbital) 
        ระดับพลังงานย่อย มี 4 ชนิด เรียงจากพลังงานต่ำไปสูง คือ Sharp ย่อว่า s Principal ย่อว่า p Diffuse  ย่อว่า d และ Fundamental ย่อว่า f